วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน
วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559

วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน อาจารย์ได้นัดนักศึกษามาพร้อมกันทั้ง 2 เซค แล้วก็ได้พูดคุยเรื่่องตารางเรียนเทอมหน้า แล้วก็ได้ให้แบบข้อสอบไปทำ จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกปากกาเมจิกให้กับนักศึกษาทุกคนหลังจากเเจกปากกาเสร็จอาจารย์ก็แจกของรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนคนที่ทำงานเรียบร้อยที่สุดแล้วก็เข้าเรียนเป็นประจำไม่เคยขาด












 เป็นอันปิดคลอสสำหรับวิชาการจัดประสบการณ์สร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

เจอกันเทอมหน้า สวัสดีค่ะ 


บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
-บรรยากาศในห้องเรียน
   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษายืนเป็นวงกลมจากนั้นอาจารย์ก็ร้องเพลงรำวงแล้วให้นักศึกษารำไปรอบๆตามจังหวะเพลงที่อาจารย์ร้องให้ แล้วก็ให้จับกลุ่มกันโดยอาจารย์เป็นคนกำหนด เช่น รถกระบะชนกับรถจักรยานรวมกันเป็นกี่ล้อ ก็ให้นักศึกษาจับกลุ่มกันตามจำนวนล้อ อาจารย์ได้ร้องแบบนี้ไปเรื่อยๆจนมีการจับกลุ่มกันได้อย่างลงตัว 
   หลังจากที่ได้จบกลุ่มกันแล้วอาจารย์ก็ได้ให้ช่วยกันแต่งนิทานโดยมีกติกาคือ แต่งนิทานที่ให้สิ่งมีชีวิตนั้นสามรถพูดได้และหลังจากแต่งนิทานกันเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มอกไปแสดงนิทานที่แต่งพร้อมกับบอกข้อคิดหรือสื่งที่ได้จากนี้ทานเรื่องนี้
   หลังจากแสดงนิทานครบทุกกลุ่มอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษายืนเป็นวงกลมแล้วอาจารย์ก็ร้องเพลงรำวงเหมือนกับตอนเเรกเพื่อที่จะให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มอีกครั้ง อาจารย์ได้ร้องไปซักพักพอได้กลุ่มตามความเหมาะสมแล้วอาจารย์ก็ได้ให้ช่วยกันทำเสียงตนตรีประกอบเพลงโดยมีกติกาคือให้ใช้อวัยวะในร่างกายเท่านั้นที่จะใช้ทำเป็นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆและสมาชิกในกลุ่มก็ห้ามทำเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันอีกด้วย

ภาพบรรยากาศการเรียน
   





























สิ่งที่ได้รับ
1.ไหวพริบจากการฟังข้อตกลงที่อาจารย์ให้ขณะทำกิจกรรม
2.ความสามัคคี
3.ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดเนื้อเรื่องนิทาน
4.ความกล้าแสดงออกในการออกไปแสดงหน้าห้อง
5.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดที่จะทำเสียงดนตรี
6.การแบ่งหน้าที่และการวางแผน

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์วาดภาพเส้นโค้งบนกระดานแล้วถามนักศึกษาทุกคนว่าเห็นภาพบนกระดานแล้วนึกถึงอะไรบ้าง โดยถามทีละคนห้ามตอบเหมือนกันกับเพื่อน
อาจารย์พูดคำว่า กระ หรือกะ แล้วนึกถึงอะไร ให้ตอบทีละคนห้ามซ้ำกัน
อาจารย์พูดคำว่า มะ แล้วนึกถึงอะไร ให้ตอบทีละคนห้ามซ้ำกัน
จากนั้นอาจารย์ให้เเบ่งกลุ่มแล้วให้ตัวแทนออกมาจับฉลากการเคลื่อนไหวในแบบต่างๆจากนั้นก็ให้ทุกกลุ่มออกมาสอนการเคลื่อนไหวตามที่กลุ่มตนเองจับฉลากได้ โดยมีหัวข้อดังนี้
1.เคลื่อนไหวประกอบเพลง

2.เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
3.เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4.เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5.เคลื่อนไหวแบบความจำ

ภาพการทำกิจกรรม







ทักษะที่ได้รับ
1.การฝึกเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังมีความมั่นใจในตนเองและรู้สึกปลอดภัย
2.การฝึกกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายแบบเคลื่อนที่ประจำ จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรงและเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว



บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ได้ให้ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่มอบหมายให้ไปทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

***ของเล่นของฉันคือ ที่เป่าฝุ่นจากกระป๋อง (ไม่ได้นำเสนอในคาบเนื่องจากวันนั้นหนังยางขาด) 

อุปกรณ์
1.กรรไกร                        2.ปืนกาว
3.กระป๋องน้ำอัดลม        4.คัตเตอร์
5.ฝาขวดน้ำ 2 ฝา           6.หนังยาง
7.ไม้                               8.ขวดน้ำ

วิธีทำ

1.เจาะรูตรงก้นกระป๋องน้ำอัดลมพร้อมกับเจาะตรงฝาขวดน้ำทั้ง2 ฝา 


2.จากนั้นเอาฝาขวดน้ำทั้ง 2 หันด้านหลังประกบกันแล้วเอาหนังยังที่เตรียมไว้ร้อยเข้าไปตรงรูที่เจาะไว้ดึงให้สุดจากนั้นใช้ไม้ขนาดเล็กๆที่เตรียมไว้เป็นตัวช่วยยึดหนังยางไม่ให้หลุดออกจากรู จากนั้นก็เอาไปติดกับก้นกระป๋องพร้อมกับยัดหนังยางปลายที่เหลือเข้าไปในรูที่เจาะไว้แล้วดึงให้แน่นจากนั้นก็ใช้ปืนกาวยิง 

3.จากนั้นก็ดึงหนังปลายที่เหลือไว้ออกมาจากกระป๋องแล้วเกี่ยวไว้ตรงที่เปิดกระป๋อง จากนั้นก็นำใบพัดที่เราทำไว้มาหมดใส่ตรงฝา

4.เสร็จแล้วก็เล่นได้เลยค่ะ 



วิธีกรเล่น

หมุนตรงฝาขวดน้ำที่ประกบกับจนรู้สึกว่าหนังยางตึงมาพอสมควรจากนั้นก็ปล่อย แล้วใบพัดก็จะหมุนคล้ายกับพัดลมหรือใบพัดเครื่องจัก

สิ่งที่ได้คือ
การวางแผนในการทำงาน
การทำงานเป็นลำดับขั้นตอน
การนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาดัดแปลงทำให้เป็นของใหม่

ผลงานของเพื่อนๆในห้องเรียน

ที่ทำขั้วโพดคั่ว



ถังขยะจากขวดน้ำ



บัวรดน้ำจากกระป๋อง



กล่องดินสอจากขวดน้ำ



เสื่อจากกล่องนม



ที่ล้างจาน



ฝาชี



หมวก



ที่คาดผม



แบบร้อยเชือกร้องเท้า



ลิ้นชัก



ตู้เย็นจากขวด



 ที่เช็ดรองเท้าจากฝาขวดน้ำ



แคทเชียร์



โคมไฟจากช้อน



โปโลแกรมภาพ 3 มิติ



กระเป๋าจากกล่อง



เคสโทรศัพท์จากกระป๋องน้ำอัดลม




หลังจากที่นำเสนอสิ่งประดิษฐ์แล้วอาจารย์ก็ให้นั่งเป็นกลุ่มตัวเลข 0-9 ที่จัดไว้เมื่อครั้งที่แล้วแล้วก็ช่วยกันทำงานต่อที่ทำค้างไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว









การประยุกต์ใช้
การนำสิ่งของที่เราไม่ได้ใช้มาดัดเเปลงให้เป็นของสิ่งใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ การเลือกทำสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถบรูณาการให้กับเด็กได้ในหลายๆกลุ่มสาระมีความคงทนเหมาะกับเด็กปฐมวัย